รายการบล็อกของฉัน

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี



เมื่อเกิดเหตุจลาจลขึ้นในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึกทราบข่าว จึงยกทัพกลับจากเขมร บรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันมาอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้ทรงแก้ไขวิกฤติการณ์ พร้อมทั้งทูลอัญเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ซึ่งนับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรีหลังจากสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว จึงทรงชำระสอบสวนพฤติกรรมของขุนนางข้าราชการทั้งหลาย ที่พบว่าไม่จงรักภักดีก็ให้เอาตัวไปประหารชีวิตเสีย พร้อมทั้งได้ทรงปูนบำเหน็จแก่ผู้มีความดีความชอบ และทรงมีดำริว่า พระราชวังเดิมมีวัดขนาบทั้งสองด้าน ทำให้ขยายกว้างขวางออกไปไม่ได้ ไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีสืบไป จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายพระนครมายังฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา) สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีใหม่
เหตุผลในการย้ายราชธานี
1. ราชวังเดิมไม่เหมาะสมในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ยาก แก่การป้องกันรักษา
2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะเป็นด้านหัวแหลม มีลำน้ำเป็นพรมแดนกว่าครึ่ง
3. เขตพระราชวังเดิมขยายไม่ได้ เพราะมีวัดกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง ได้แก่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาด
ลักษณะของราชธานีใหม่ราชธานีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯให้สร้างขึ้นได้ทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 การสร้างราชธานีใหม่นี้โปรดฯให้สร้างเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือกำหนดผังเมืองเป็น 3 ส่วน
1.ส่วนที่เป็นบริเวณพระบรมมหาราชวัง วังหน้า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ทุ่งพระเมรุ และสถานที่สำคัญอื่น ๆ มีอาณาบริเวณตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงคูเมืองเดิมสมัยกรุงธนบุรี
2.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง เริ่มตั้งแต่คูเมืองเดิมไปทาง ทิศตะวันออก จนจดคูเมืองที่ขุดใหม่หรือคลองรอบกรุง ประกอบด้วย คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง และเพื่อสะดวกในการคมนาคม โปรดให้ขุดคลองสองคลองคือคลองหลอด 1 และคลองหลอด 2 เชื่อมคูเมืองเก่ากับคูเมืองใหม่ติดต่อถึงกัน ตามแนวคลองรอบกรุงนี้ ทรงสร้างกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการขึ้นโดยรอบ นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างถนนสะพาน และสถานที่อื่น ๆ ที่จำเป็น ราษฎรที่อาศัยอยู่ในส่วนนี้ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก
3.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยนอกกำแพงเมือง มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมคลองรอบกรุง เป็นหย่อม ๆ กระจายกันออกไป คลองสำคัญที่โปรดให้ขุดขึ้น คือ คลองมหานาค ราษฎรในส่วนนี้ประกอบอาชีพการเกษตร และผลิตสินค้า
การปกครองส่วนกลาง
ทำการปฏิรูปโดยจัดตั้งหน่วยราชการใหม่ เรียกว่า กระทรวง ซึ่งมี 12 กระทรวง ใน พ.ศ.2435 แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีรับผิดชอบงานของกระทรวงนั้นๆ กระทรวงต่างๆ ในสมัยปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีดังนี้
1.กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเมืองลาวประเทศราช
2.กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ฝ่ายตะวันออก และเมืองมลายูประเทศราช
3.กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ
4.กระทรวงวัง มีหน้าที่รับผิดชอบราชการในพระราชวัง และกรมที่เกี่ยวข้องกับราชการในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5.กระทรวงนครบาล มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการตำรวจ และราชทัณฑ์ ต่อมาให้รับผิดชอบราชการในเขตแขวงกรุงเทพฯ ราชธานี
6.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเก็บภาษีอากร และเงินที่เป็นรายรับและรายจ่ายในแผ่นดิน
7.กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่บังคับศาลที่ชำระความทั่วทั้งประเทศทั้งแพ่ง อาญา และอุทธรณ์
8.กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทหารบก และทหารเรือ
9.กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก การป่าไม้ การทำเหมืองแร่ และการค้าขาย
10.กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการศาสนา การศึกษา และการสาธารณสุข11.กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการก่อสร้าง ทำถนน ขุดคลอง การช่างทั่วไป การไปรษณีย์โทรเลข และการรถไฟ ซึ่งวางแผนไว้ว่าจะมีขึ้นภายหลัง
12.กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและงานหนังสือราชการทั้งปวง
ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้น 2 สภา ก็คือ
1.รัฐมนตรีสภา
2.องคมนตรีสภา
การปกครองส่วนภูมิภาค
การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยปฏิรูปการปกรองแผ่นดิน มีดังนี้
1.มณฑลเทศาภิบาล เป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยเมืองตั้งแต่สองเมืองขึ้นไป มีข้าหลวงเทศาภิบาล หรือสมุหเทศาภิบาล ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีตัวแทนของกระทรวงอื่นๆ เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติราชการ
2.เมือง หรือจังหวัดในปัจจุบัน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ ขึ้นกับข้าหลวงเทศาภิบาลโดยตรง โดยมีข้าราชการอื่นๆ เป็นผู้ช่วย
3.อำเภอ มีนายอำเภอซึ่งผู้ว่าราชการเมืองแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบ
4.ตำบล มีกำนันซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากผู้ใหญ่บ้าน และผู้ว่าราชการเมืองแต่งตั้ง เป็นผู้รับผิดชอบ
5.หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งราษฎรเลือกตั้งมา เป็นผู้รับผิดชอบ
การปกครองท้องถิ่น
ทรงเล็งเห็นคุณประโยชน์ของการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงได้ทรงให้มีการปกครองท้องถิ่นโดยการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อ พ.ศ.2448 ในระยะต่อมา จึงได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น ถึง 35 แห่ง การปกครองท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาลนี้ เป็นการร่วมมือกันระหว่างหัวหน้าหน่วยราชการตำแหน่งต่างๆ ในท้องที่ กับกรรมการอื่นๆ ที่ราษฎรเป็นผู้เลือกขึ้นมา หน้าที่สำคัญๆ ของสุขาภิบาลได้แก่ การรักษาความสะอาด การให้การศึกษาขั้นต้นแก่ราษฎร การอนามัย และการบำรุงรักษาถนนหนทาง
อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น