รายการบล็อกของฉัน

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553


1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา เพื่อให้ขุนนาง ข้าราชการ ได้คุ้นเคยกับการปกครองในรูปแบบใหม่ ทำให้ขุนนาง ข้าราชการได้รู้จักการแสดงความคิดเห็น รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้มี 2 สภา คือ
1)สภาที่ปรึกษาราชกาลแผ่นดิน ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาในเรื่องราชกาลแผ่นดิน การออกกฎหมายต่างๆ
2)สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์เกี่ยวกับราชกาลต่างๆ
2.การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ใน พ.ศ.2430 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเสด็จกลับจากการดูงานการปกครองในประเทศสหัฐอเมริกา ยุโรป และ ญี่ปุ่น ได้ทรงทำบันทึกเสนอต่อรัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงพิจารณาที่จะให้มีการปฏิรูปการปกครอง จึงได้ทรงจัดตั้งกรมขึ้นใหม่ 6 กรม เมื่อรวมกับทีมีอยู่แล้ว 6 กรม เป็น 12 กรม คือ
1.กรมมหาดไทย
2.กรมพระกลาโหม
3.กรมท่า
4.กรมวัง
5.กรมเมือง
6.กรมนา
7.กรมพระคลัง
8.กรมยุติธรรม
9.กรมยุทธนาธิการ
10.กรมกรรมการ
11.กรมโยธาธิการ
12.กรมมุรธาธิการใน พ.ศ. 2435 กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง
และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกเลิกการปกครองระบบจตุสดมภ์ และใน พ.ศ. 2437 ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกัน
3.การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค มีการปกครองตามระบบเทศาภิบาล ซึ่งได้ระบุไว้ใน ประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.113 โดยรวมหัวเมืองหลายหัวเมืองเป็น 1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการมณฑลละ 1 คน ซึ่งต้องขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองหังเมืองเนระบบเทศาภิบาลไม่ได้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น เพราะว่ารัฐบาลประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น การขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน รัฐบาลกลางขาดงบประมาณ ทำให้รัฐบาลต้องเร่งรัดภาษี
4.การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องการให้ราษฎรมีส่วนในการปกครองประเทศ ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก คือ สุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร จัดตั้งเมือ พ.ศ. 2448
อ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/node/31035

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น