รายการบล็อกของฉัน

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


การปกครองสมัยอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2310 มีเมืองหลวงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังเป็นอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานสี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรจำปา และคาบสมุทรมมลายูในปัจจุบัน กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฎว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการ
กบฎกรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศอิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)
ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติ หรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตุอยู่ 3 ประการ คือ
1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ
2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ
3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว
ระบบเทวสิทธิ์นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์"การปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้าตามคติของฮินดูราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ถูกปกครองอย่างแท้จริง สมบูรณาญาสิทธิราชถือกำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา"
กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนบริเวณซึ่งมีแม่น้ำล้อม3 สายได้แก่
- ทิศเหนือ แม่น้ำลพบุรี
- ทิศตะวันตกและทิศใต้ แม่น้ำเจ้าพระยา
- ทิศตะวันออก แม่น้ำป่าสัก

สภาพเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
การเกษตร
ตั้งแต่แรกก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีในด้านการค้าขายกับต่างประเทศ และยังมีความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรอีกด้วย เพราะอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างยิ่ง และพืชที่เพาะปลูกกันมากก็คือ ข้าว ความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรทำให้อยุธยาสมารถผลิตอาหารเลี้ยงผู้คนได้เป็นจำนวนมาก แต่การเกษตรของอยุธยายังเป็นการเกษตรแบบพอยังชีพ กล่าวคือใช้เทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลักใหญ่ ด้านการชลประทานนั้นรัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมแต่อย่างใดการขุดคลองต่างๆ ก็เพื่อสนองความต้องการทางด้านยุทธศาสตร์การคมนาคมและการระบายน้ำที่ท่วมตอนหน้าน้ำเท่านั้น มิได้ขุดเพื่อผลประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมโดยตรงแม้ว่ารัฐบาลในสมัยอยุธยาตอนต้น จะไม่ได้ส่งเสริมการเกษตรมากนัก แต่สภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินทำให้อยุธยาสามารถผลิตอาหารเลี้ยงดูผู้คน ได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นรากฐานสำคัญอย่างหนึ่งของการเสริมสร้างและแผ่ขยายอาณาจักรการเกษตร จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจอยุธยามาตลอดระยะเวลา 417 ปี
การค้ากับต่างประเทศ
ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991) การค้ากับต่างประเทศที่มีอยู่เป็นการค้าสำเภากับจีน ญี่ปุ่น อาหรับ มลายู อินเดียชวาและฟิลิปปินส์ แต่อยุธยามีการติดต่อค้าขายกับจีนมากที่สุด การค้าสำเภาส่วนใหญ่ในสมัยนี้เราดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์เจ้านายและขุนนางมีการค้าของเอกชนบ้าง การค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาตอนต้นจึงเป็นการผูกขาดกลาย ๆ หรือโดยทางอ้อม แต่ระดับของการผูกขาดยังมีไม่มากรูปแบบการค้าเสรียังมีอยู่พ่อค้าต่างชาติยังสามารถติดต่อค้าขายกับราษฎรและพ่อค้าชาติอื่น ๆ ที่อยู่ในอยุธยาได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐบาลคือพระคลังสินค้า เหมือนดังเช่นในสมัยหลัง กล่าวโดยสรุปการค้ากับต่างประเทศ นับเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาและเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐ กล่าวคือหากรัฐบาลเป็นผู้ประกอบการค้าเองก็จะได้ผลกำไรแต่ถ้าไม่ได้ค้าขายเองก็จะได้ภาษีซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออก
รายได้ของรัฐ
1. จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านขนอน ทางบกทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าของราษฎรโดยเก็บชักส่วนสินค้าไว้ในอัตรา 1 ชัก 10หรือเก็บเป็นเงินตามอัตราขนาดยานพาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน
2. อากร คือ การเก็บชักส่วนผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพอื่นๆ ที่มิใช่การค้าขายโดยตรง เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผู้ที่ทำนาจะเสียหางข้าวให้แก่รัฐและจะต้องนำมาส่งเอง หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่นอนุญาตให้เก็บของป่า จับปลาในน้ำ และต้มกลั่นสุรา เป็นต้น อัตราคงที่ประมาณ 1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้
3. ส่วย คือ เครื่องราชบรรณาการที่ได้จากประเทศราช
4. ฤชา คือ เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเฉพาะรายในกิจการที่ทางราชการจัดให้เช่นการออกโฉนดตราสารหรือเงินปรับไหมที่ฝ่ายแพ้คดีจะต้องชดใช้ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐบาลจะเก็บให้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา ซึ่งเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เงินพินัยหลวง"
รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไร ภาษีสินค้าขาเข้า และภาษีสินค้าขาออก
ระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา แบ่งออกเป็น ๓สมัย
1. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991) หรือสมัยการวางรากฐานการปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน
1.1) การปกครองแบบจตุสดมภ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี ๔ คนคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ กฏหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น
- ขุนเวียง ทำหน้าที่ บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนัน ในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาล และคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง
- ขุนวัง ทำหน้าที่ รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดาข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไป มีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่า ราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
- ขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าใน พระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาล ซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง
- ขุนนา มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าว ขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็น ผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ
1.2) การปกครองส่วนภูมิภาคหรือส่วนหัวเมือง
-เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านอยู่รอบราชธานี ๔ ทิศ ห่างจากราชธานีใช้เวลาเดินทาง ๒ วัน พระมหากษัตริย์แต่งตั้งพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง
-หัวเมืองชั้นใน คือเมืองที่อยู่รายรอบพระนคร ได้แก่ ปราจีนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ มีขุนนางจากเมืองหลวงไปปกครอง
-หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร เมืองขนาดใหญ่อยู่ห่างไกลจากราชธานี -เมืองประเทศราช ให้เจ้าต่างชาติต่างภาษาปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด ๓ ปีต่อครั้ง
2. สมัยอยุธยาตอนกลาง(พ.ศ.1991 -2231) หรือสมัยการปรับปรุงการปกครอง เริ่มในสมัยพระบรมโตรโลกนาถ การปรับปรุงการปกครอง ยึดหลักการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง แบ่งส่วนราชการออกเป็น
2.1) การปกครองในส่วนกลางหรือส่วนราชธานี แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ฝ่าย
- ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้า ดูแลทหารทั่วราชอาณาจักร
-ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า และรับผิดชอบจตุสดมภ์ ๔ และเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ คือ เวียง เป็น นครบาล วัง เป็น ธรรมาธิกรณ์ นา
เป็นเกษตราธิราช คลัง เป็น โกษาธิบดี
2.2) การปกครองส่วนภูมิภาค โปรดให้ยกเลิกเมืองลูกหลวง จัดการปกครองออกเป็น
- หัวเมืองชั้นใน เปลี่ยนเป็นหัวเมืองจัตวา มีผู้ปกครองคือผู้รั้ง ๒.๒ หัวเมืองชั้นนอก เปลี่ยนหัวเมืองชั้น เอก โท ตรี ตามลำดับความสำคัญ
และขนาดของ เมือง
- เมืองประเทศราช ให้เจ้าต่างชาติต่างภาษาปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาตามกำหนด
3.สมัยอยุธยาตอนปลาย(พ.ศ. 2231-2310)หรือสมัยถ่วงดุลอำนาจ เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดแบบอย่างการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุง แต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ สมุหกลาโหม
- ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน สมุหนายก
- ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รูปแบบการปกครองของอยุธยา ใช้เรื่องมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่
กษัตริย์สมัยอยุธยา
ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 1, 20 ปี)
1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)
2. สมเด็จพระราเมศวร
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 1, 18 ปี)
1. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พะงั่ว)
2. พระเจ้าทองลัน (เจ้าทองจันท์)
ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 2, 21 ปี รวม 41 ปี)
3. สมเด็จพระราเมศวร
4. สมเด็จพระรามราชาธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 2, 160 ปี รวม 178 ปี)
3. สมเด็จพระอินทราธิราช (เจ้านครอินทร์)
4. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
5. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
6. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
7. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช)
8. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร)
9. พระรัษฎาธิราช
10. สมเด็จพระไชยราชาธิราช
11. พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า)
ขุนวรวงศาธิราช (ไม่ได้รับการยก ย่องเทียบเท่าพระองค์อื่น)
12. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก)
13. สมเด็จพระมหินทราธิราช
ราชวงศ์สุโขทัย (61 ปี)
1. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1)
2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2) (กู้ชาติ)
3. สมเด็จพระเอกาทศรถ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3)
4. พระศรีเสาวภาคย์ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4)
5. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
6. สมเด็จพระเชษฐาธิราช
7. พระอาทิตยวงศ์
ราชวงศ์ปราสาททอง (58 ปี)
1. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5)
2. สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 6)
3. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 7)
4. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (79 ปี)
1. สมเด็จพระเพทราชา
2. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
3. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
(สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
4. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
5. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
(ขุนหลวงหาวัด)
6. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์, ขุนหลวงขี้เรื้อน)
ซึ่งรวมเป็นกษัตริย์รวม 33 พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว

สภาพสังคม
การปกครองแบบจตุสดมภ์
ลักษณะทางสังคมของอยุธยาประกอบด้วยชนชั้นต่างๆตั้งแต่จุดสุดยอดถึงพื้นฐานของสังคม 6 ชนชั้น คือ
1. พระมหากษัตริย์ ทรงมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศทุกด้านเช่นในทางการเมืองทรงเป็นเจ้าชีวิตและเป็นประมุขของอาณาจักรและมีอำนาจเหนือชีวิตของทุกคนในสังคม ในทางสังคมทรงเป็นผู้นำสังคม และเป็นองค์อุปถัมภ์ของศาสนาพุทธในแง่สถาบันพระมหากษัตริย์จะอยู่ในฐานะแตกต่างจากสุโขทัย เพราะอยุธยาเป้นอาณาจักรที่กว้างขวาง จึงต้องเป็นสถาบันที่เข้มแข็งเป็นที่เกรงขามของประชาชน ด้วยเหตุนี้อยุธยาจึงรับคติเทวราชาเข้ามา ทำให้กษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้า
2. เจ้านาย ประกอบด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและเชื้อพระวงศ์พวกเจ้านายที่จะช่วยเหลือราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์มีบัญชา ซึ่งยศของเจ้านายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- สกุลยศ เป็นยศที่เจ้านายแต่ละองค์ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด
- อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานเรื่องจากได้รับราชการแผ่นดิน
3. ขุนนาง ชนชั้นสูงที่รับราชการกับพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นชนส่วนน้อยในสังคมที่มีโอกาส เข้ารับราชการมักเป็นสังคมปิดเนื่องจากมีการสืบทอดตำแหน่งในวงศ์ตระกูลแลแหล่งที่มาของอำนาจ ขุนนางคือ กำลังคนที่อยู่ในความควบคุม ที่เรียกกันว่า ไพร่หลวง
4. พระสงฆ์ คือ บุคคลที่บวชในพุทธศาสนาทุกคนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างชนชั้นปกครองกับพวกไพร่หรือสามัญชน พระสงฆ์ประกอบด้วย สมาชิก 2 พวก คือ พวกที่บวชตลอดชีวิตและพวกที่บวชชั่วคราวซึ่งชนชั้นไหนก็สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้
5. ไพร่ เป็นเสรีชนที่ต้องให้แรงงานแก่รัฐบาลและถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือเจ้านาย ซึ่งรวมเรียกว่ามูลนาย ไพร่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของสังคม มีประมาณ 80-90% ของคนในสังคมอยุธยา
6. ทาส คือ ชนกลุ่มน้อยของสังคมที่ได้จากการกวาดต้อนผู้คนของเมืองที่แพ้สงครามหรือไพร่ที่ขายตัวเมื่อยากจนลง ทาสสมัยอยุธยาแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได 2 ประเภท คือ
- ทาสที่สามารถซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่
- ทาสที่ซื้ออิสรภาพอขงตนเองไม่ได้ คือ ทาสเชลยศึกหรือลูกทาสเชลย
อ้างอิง

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


การปกครองสมัยสุโขทัย
การปกครองสมัยสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น
เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบบิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
- รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุดทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
- รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบ
ครัวหรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
-ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี
พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
- การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย
การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์

ลักษณะการปกครองเมืองแบ่งออก เป็น 3 ส่วน
1. เมืองหลวง สุโขทัย
2. หัวเมืองชั้นใน ทิศเหนือ เมืองศรีสัชชนาลัย (สวรรคโลก)
ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร )
ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร
3. หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) ได้แก่ เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ เมืองแพรก(สรรค์บุรี)

เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี

4. เมืองประเทศราช ทิศตะวันออก เมืองน่าน เมืองเซ่า(เมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ
ทิศใต้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และ เมืองยะโฮร์
ทิศตะวันตก เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี



การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น

พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย
1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว)
2.
พ่อขุนบานเมือง
3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ่อขุนรามราช)
4.
พระยาเลอไท
5. พระยางั่วนำถม
6. พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)
7.
พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)
8.
พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท)
9.
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล


อ้างอิง
- http://th.wikipedia.org/wiki
- http://www.school.net.th/library/create-web/10000/history/10000-2454.html
- http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=106.0